วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

ตัวอย่างเนื้อหาที่เราจะนำมาสอน ^___^

การแบ่งเซลล์
Cell Division
ชนิดของเซลล์
1. Prokaryotic cells เซลล์ของสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ พวกแบคทีเรีย สาหร่ายสีเขียว แกมน้ำเงิน และไมโครพลาสมา ลักษณะเด่นคือ เซลล์ไม่มีเยื่อหุ้ม แบ่งแยกต่างหาก ลักษณะเซลล์จะค่อนข้างเล็ก มีขนาด 0.2-10 ไมโครเมตร
2. Ukaryotic cells ได้แก่ เห็ด รา เซลล์ของพืช และสัตว์ทั่วๆไป มีขนาด 10-100 ไมโครเมตร
การแบ่งไซโทพลาสซึม (Cytokinesis
1 แบบที่เยื่อหุ้มเซลล์คอดกิ่วจาก 2 ข้าง เข้าใจกลางเซลล์ เรียกว่าแบบ furrow
type ซึ่งพบในเซลล์สัตว์
2 แบบที่มีการสร้างเซลล์เพลท (cell plate) มาก่อตัว บริเวณกึ่งกลางเซลล์ขยายไป
2 ข้างของเซลล์ เรียกว่าแบบ cell plate type ซึ่งพบในเซลล์พืช
การแบ่งนิวเคลียส ( karyokinesis )
การแบ่งแบบไมโทซิส(mitosis)
เป็นการแบ่งเซลล์ เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ของร่างกาย
ไม่มีการลดจำนวนชุดโครโมโซม ( 2n ไป 2n หรือ n ไป n )
เมื่อสิ้นสุดการแบ่งเซลล์จะได้ 2 เซลล์ใหม่ที่มีโครโมโซมเท่าๆ กัน และเท่ากับเซลล์ตั้งต้น
พบที่เนื้อเยื่อเจริญปลายยอด , ปลายราก , แคมเบียม ของพืชหรือเนื้อเยื่อบุผิว ,
ไขกระดูกในสัตว์ , การสร้างสเปิร์ม และไข่ของพืช

การแบ่งเซลล์แบบMitosis แบ่งเป็น 5 ระยะย่อย
1.ระยะ Interphaseเป็นระยะที่เซลล์เตรียมตัวที่จะแบ่งตัวแบ่งออกเป็น 3
ระยะย่อยคือ G1, s และ G2
2.ระยะProphase
ระยะนี้โครมาทิดจะหดตัว โดยการบิดเป็นเกลียวสั้นลง ทำให้เห็นได้ชัดเจนมากขึ้นว่า
   1 chromosome = 2 chromatids
เยื่อหุ้มนิวเคลียส และนิวคลีโอลัสสลายไป
ในสัตว์ Centriole จะเคลื่อนที่แยกไปอยู่ 2 ขั้วของเซลล์ตรงกันข้าม
รอบๆ centriole จะมี mitotic spindle หรือ spindle fiber ยื่นออกมามากมาย เรียกว่า aster
ในเซลล์พืชจะไม่มี centriole แต่จะมี polar cap ทำหน้าที่แทน
3.ระยะMetaphase
ระยะนี้ mitotic spindle จะหดตัว ดึงให้โครมาทิดไปเรียงตัวอยู่ในแนวกึ่งกลางเซลล์ ( equatorial plate)
โครมาทิดหดสั้นมากที่สุด จึงสะดวกต่อการเคลื่อนที่ ของโครมาทิดมาก
ระยะนี้เหมาะมากที่สุด ต่อการนับจำนวนโครโมโซม , จัดเรียงโครโมโซมเป็นคู่ๆ หรือที่เรียกว่าแครีโอไทป์ ( karyotype) หรือเหมาะต่อการศึกษารูปร่าง ความผิดปกติ ของโครโมโซม
ตอนปลายของระยะนี้ มีการแบ่งตัว ของเซนโทรเมียร์ ทำให้โครมาทิดพร้อมที่จะแยกจากกัน
4.ระยะAnaphase
ระยะนี้ mitotic spindle หดสั้นเข้า ดึงให้โครมาทิดแยกตัวออกจากกัน แล้วโครมาทิด จะค่อยๆ เคลื่อนไปยังแต่ละขั้ว ของเซลล์
โครโมโซม ในระยะนี้จะเพิ่มจาก 2n เป็น 4n
เป็นระยะเวลาที่ใช้สั้นที่สุด
ระยะนี้จะเห็นโครโมโซม มีรูปร่างคล้ายอักษร V, J,I ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเซนโทรเมียร์ ว่าอยู่กึ่งกลางของโครโมโซม หรือค่อนข้างปลาย หรือเกือบปลายสุด
5.ระยะTelophase
เป็นระยะสุดท้ายของการแบ่งเซลล์ โดยโครมาทิดที่แยกออกจากกัน จะเรียกเป็น โครโมโซมลูก ( daughter chromosome) ซึ่งจะไปรวมกลุ่มในแต่ละขั้วของเซลล์
มีการสร้างเยื่อหุ้มนิวเคลียส ล้อมรอบโครโมโซม และนิวคลีโอลัสปรากฏขึ้น
mitotic spindle สลายไป
มีการแบ่งไซโทพลาสซึมออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. ในเซลล์สัตว์ จะเกิดโดย เยื่อหุ้มเซลล์จะคอดกิ่วจาก 2 ข้าง เข้าใจกลางเซลล์ จนเกิดเป็นเซลล์ 2 เซลล์ใหม 2. ในเซลล์พืช จะเกิดโดย กอลจิคอมเพลกซ์สร้างเซลลูโลส มาก่อตัวเป็นเซลล์เพลท ( cell plate) หรือแผ่นกั้นเซลล์ ตรงกลางเซลล์ ขยายไป 2 ข้างของเซลล์ ซึ่งต่อมาเซลล์เพลท จะกลายเป็นส่วนของผนังเซลล์
ผลสุดท้าย จะได้เซลล์ใหม่ 2 เซลล์ ที่มีขนาดเท่ากันเสมอ โดยนิวเคลียสของเซลล์ใหม่ มีองค์ประกอบ และสมบัติเหมือนกัน และมีสภาพเหมือนกับนิวเคลียส ในระยะอินเตอร์เฟส ของเซลล์เริ่มต้น